top of page

วิธีทำกำแพงกันดินสำเร็จรูปตัว L ร่วมกับรั้วสำเร็จรูป | ใช้งานจริง แข็งแรง ประหยัดแรงงาน

  • รูปภาพนักเขียน: Kallaya Tanthawoo
    Kallaya Tanthawoo
  • 18 พ.ค.
  • ยาว 1 นาที

แชร์ขั้นตอน! การทำกำแพงกันดินสำเร็จรูปตัว L ร่วมกับรั้วสำเร็จรูป

การใช้วัสดุสำเร็จรูปในการทำกำแพงกันดินและรั้ว ช่วยลดระยะเวลาก่อสร้าง ใช้แรงงานน้อย และควบคุมต้นทุนค่าแรงได้ดี เหมาะกับหน้างานที่ต้องการความเร็วและความเรียบร้อย

วันนี้เรามาแบ่งปันขั้นตอนการทำงานจริงจากไซต์งาน ที่รวมทั้งกำแพงกันดินสำเร็จรูปแบบตัว L และรั้วเสียบแผ่นสำเร็จรูป มาดูกันเลยค่ะว่าทำอย่างไรบ้าง

1. วางกำแพงกันดินสำเร็จรูปตัว L

📌 จุดเด่นของกำแพงกันดินแบบตัว L

  • ติดตั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว

  • ประหยัดแรงงาน ลดเวลาในหน้างาน

  • ทึบน้ำ ไม่ปล่อยให้น้ำซึมผ่านไปยังที่ดินข้างเคียง(ต่างจากแบบเสียบแผ่น ที่อาจมีปัญหารอยต่อให้น้ำไหลซึม) ทั้งนี้ต้องมีการอุดรูตรงรอยต่อแผ่น และมีการออกแบบการระบายน้ำด้านบน ควบคู่ไปด้วย

📍 ตัวอย่างหน้างาน:ระดับดินสูงประมาณ 1.2–1.5 เมตรจึงเลือกใช้กำแพงกันดินสำเร็จรูปสูง 1.8 เมตรเพื่อเผื่อระยะฝังดินและรองรับแรงดันดินอย่างเหมาะสม

📝 หมายเหตุสำคัญ:หลายคนเข้าใจผิดว่ากำแพงกันดินแบบ L “ไม่ต้องลงเข็ม” เสมอไปความจริงคือ ต้องพิจารณาจากผลสำรวจชั้นดินประกอบเสมอ

💡 ในหน้างานนี้ ตรวจสอบแล้วเป็น “ชั้นดินแข็ง”รองรับน้ำหนักของกำแพงได้ดี จึง ไม่จำเป็นต้องลงเข็ม

หากเป็นพื้นที่ดินอ่อนหรือมีแรงดันดินสูง ควรปรึกษาวิศวกรก่อนเลือกใช้วิธีนี้




กำแพงกันดินสำเร็จรูปตัว L สำหรับกันดินสูง 1.5 เมตร ติดตั้งบนพื้นที่ดินแข็งโดยไม่ต้องลงเข็ม
กำแพงกันดินสำเร็จรูปตัว L กำลังติดตั้งในพื้นที่ดินแข็ง ปรับพื้นด้านล่าง ให้ได้ระดับ

หากไม่ต้องการให้น้ำไหลไปข้างเคียงให้อุดรูรอยต่อ และออกแบบระบบระบายน้ำด้านบน

ช่างกำลังเก็บรอยต่อระหว่างแผ่นกำแพงกันดินสำเร็จรูปตัว L เพื่อป้องกันการรั่วซึม
ทีมงานเก็บรายละเอียดรอยต่อระหว่างแผ่นกำแพงกันดินตัว L เพื่อป้องกันการรั่วซึม

2. สกัดกำแพงกันดิน ติดตั้งเพลทเชื่อมกับโครงสร้าง

ในขั้นตอนนี้มีหลายวิธีให้เลือกใช้ เราเลือกวิธี สกัดกำแพงกันดินลง 20 ซม. เพื่อฝังเพลทหน้างาน

📌 ข้อดี:

  • ไม่ต้องรอการฝังเพลทจากโรงงาน (ที่มักใช้เวลาผลิตนาน)

  • คุ้มค่าและแข็งแรง

  • ควบคุมตำแหน่งเพลทได้ตามต้องการ


    สกัดพื้นผิวกำแพงกันดินสำเร็จรูปเพื่อเตรียมฝังเพลทสำหรับยึดโครงสร้างรั้วเสียบแผ่น
    ช่างกำลังสกัดกำแพงกันดินสำเร็จรูปตัว L เพื่อฝังเพลทเชื่อมกับโครงสร้างรั้วสำเร็จรูป

    เพลทเหล็กฝังในคอนกรีตกำแพงกันดินตัว L สำหรับเชื่อมต่อเสารั้วสำเร็จรูป
    เพลทเหล็กฝังในกำแพงกันดิน เพื่อใช้เชื่อมต่อกับเสารั้วเสียบแผ่น เพิ่มความแข็งแรงของระบบต่อเนื่อง

3. เชื่อมเพลทเสารั้วกับกำแพงกันดิน

ตั้งเสารั้วเสียบแผ่นบนแนวกำแพงกันดินสำเร็จรูป โดยใช้เชือกดึงแนวเพื่อควบคุมระดับให้ตรงและได้ฉาก เสารั้วสำเร็จรูปจะสั่งติดตั้งเพลทมาจากโรงงานกรณีต้องการรั้วสูง 2 เมตร → สั่งเสาสูง 2.20 เมตร เพื่อให้ 20 ซม. ล่างฝังเข้าในกำแพงกันดินหรือคานลัดตีนเสา เพิ่มความมั่นคง


จุดเชื่อมต่อระหว่างเสารั้วเสียบแผ่นกับกำแพงกันดินตัว L
รายละเอียดการฝังเสารั้วเสียบแผ่นลงบนกำแพงกันดินสำเร็จรูป โดยใช้เพลทเชื่อมต่อ

4. เทคานเอ็น ปรับระดับและปกป้องเพลท

เทคานเอ็นเพื่อ:

  • ปรับระดับพื้นท้องให้เรียบ เพื่อวางแผ่นให้ได้ระดับสวยงาม

  • วางแผ่นรั้วให้แนวตรง สวย

  • ปิดเพลทเพื่อป้องกันสนิม


    ช่างกำลังตรวจสอบระดับเสารั้วสำเร็จรูปที่ติดตั้งบนกำแพงกันดินตัว L พร้อมดึงแนวให้เสาอยู่ในแนวเดียวกัน และทับหลังที่ทำเสร็จ
    ตั้งเสารั้วเสียบแผ่นบนแนวกำแพงกันดินสำเร็จรูป โดยใช้เชือกดึงแนวเพื่อควบคุมระดับให้ตรงและได้ฉาก จากนั้นเข้าแบบเททับหลังเพื่อปรับระดับท้องแผ่น และป้องกันเพลท

    5. ติดตั้งแผ่นรั้ว และทับหลัง

    ขั้นตอนนี้จะง่ายขึ้น ถ้าทำรั้วได้แนว และมีการเททับหลังเพื่อปรับระดับท้องไว้แล้ว จะทำให้ควบคุมแนวระนาบให้แม่นยำ เพื่อให้รั้วดูเรียบร้อยแข็งแรง


  • รั้วเสียบแผ่นสำเร็จรูปติดตั้งครบทุกแนวบนฐานกำแพงกันดินตัว L ในพื้นที่หน้างานพร้อมใช้งาน
    รั้วสำเร็จรูปติดตั้งเสร็จสมบูรณ์บนแนวกำแพงกันดินสำเร็จรูปตัว L ให้ความแข็งแรง สวยงาม และประหยัดเวลาในการก่อสร้าง

    6. เก็บรอยต่อระหว่างเสาและแผ่นรั้ว

    เก็บงานให้เนียน ใช้ปูนตกแต่งให้เรียบร้อย


    แนวรั้วสำเร็จรูปที่เก็บงานเรียบร้อยด้วยปูนตกแต่งบริเวณรอยต่อระหว่างเสาและแผ่น ช่วยเพิ่มความสวยงามและความทนทาน
    เก็บรายละเอียดรอยต่อระหว่างเสาและแผ่นรั้วสำเร็จรูปด้วยปูนตกแต่ง ช่วยให้แนวรั้วดูเรียบเนียน

    7. รอยต่อเข้ามุมของกำแพงกันดิน


    ในบางหน้างานที่ต้องมีมุมหักของกำแพงกันดิน การใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูปแบบเข้ามุมอาจมีค่าใช้จ่ายสูง และใช้เวลาผลิตนาน


    ทางเลือกหนึ่งคือการ ผูกเหล็กและเข้าแบบเทคอนกรีตหน้างาน เพื่อเข้ามุมให้ต่อเนื่องกับแผ่นกำแพงกันดิน


    แต่ทั้งนี้ การออกแบบจุดเข้ามุมควรให้ วิศวกรเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการทำงาน เพื่อความปลอดภัยและความแข็งแรงของโครงสร้าง


    การเข้ามุมของกำแพงกันดินสำเร็จรูปโดยใช้เหล็กเสริมและแบบไม้เทคอนกรีตหน้างานแทนการใช้ชิ้นส่วนสำเร็จจากโรงงาน
    กรณีเข้ามุมกำแพงกันดิน หากไม่ได้ใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป สามารถเลือกใช้วิธีผูกเหล็กและเข้าแบบเทคอนกรีตหน้างานได้ โดยต้องให้ออกแบบโดยวิศวกร

    พื้นที่มุมกำแพงกันดินที่เตรียมเหล็กเสริมและแบบไม้สำหรับเทคอนกรีตหน้างาน เพื่อต่อเนื่องกับแผ่นกำแพงกันดินสำเร็จรูป
    รอยต่อเข้ามุมของกำแพงกันดินที่เลือกเทหน้างานแทนการใช้ชิ้นสำเร็จรูป ลดเวลารอผลิต และช่วยปรับตามพื้นที่หน้างานจริง

    การทำกำแพงกันดินสำเร็จรูปตัว L ร่วมกับรั้วสำเร็จรูป เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยประหยัดเวลา ลดแรงงาน และควบคุมงบประมาณได้ดีทั้งนี้ การเลือกวิธีติดตั้ง ควรพิจารณาจากลักษณะหน้างานจริง ร่วมกับผลการสำรวจดิน และควรให้ออกแบบโดยวิศวกร เพื่อความปลอดภัยและความแข็งแรงในระยะยาว

    👉 ชัยเสรีบิลเดอร์ รับออกแบบและก่อสร้างกำแพงกันดินสำเร็จรูป พร้อมรั้วเสียบแผ่นสำเร็จรูป โดยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ตรงในงานโครงสร้าง รับเฉพาะ พื้นที่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี และระยอง

    📌 ภาพทั้งหมดในบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ ชัยเสรีบิลเดอร์ ห้ามนำไปใช้หรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต

Comments


bottom of page